![]() โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการชุดเทคโนโลยีการเพาะกล้าสำหรับเครื่องปักดำ
เกษตรกรผู้ผลิตข้าวในเขตภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เริ่มมีความนิยมปลูกข้าวโดยวิธีปักดาด้วยเครื่องปักดา ซึ่งวิธีการนี้สามารถควบคุมวัชพืช และข้าววัชพืชได้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในเรื่องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลง แต่ต้องมีการเพาะกล้าในกระบะก่อนนาไปใช้ การเพาะกล้าในกระบะเพาะเป็นอีกอาชีพที่ควบคู่กับการอาชีพรับจ้างดานา ปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการที่รับจ้างตกกล้าและปักดา
|
![]() เอกสารฝึกอบรมการผลิตข้าวคุณภาพ
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิตปี ๒๕๕๙ จังหวัดพิจิตร หนังสือการผลิตข้าวคุณภาพเล่มนี้สามารถใช้เป็นคู่มือเสริมองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในหลายๆด้าน เพื่อให้เกษตรกรได้ศึกษาและนำไปใช้พัฒนาการผลิตข้าวของตนเอง ก่อให้เกิดการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าวได้
|
![]() เอกสารแนะนำศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก (ฉบับ พ.ศ.2557)
ประวัติ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ในชื่อ "สถานีทดลองข้าวพิษณุโลก" ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับข้าวและพัฒนา การทำนาในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และตาก สังกัดกองบำรุงพันธุ์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร และในปี พ.ศ. 2526 ได้รับการยกระดับเป็น "ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก" สังกัดสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
|
![]() 50 ปี ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
ในปี พ.ศ. 2555 นี้ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก มีอายุการก่อตั้งครบรอบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นสถานีทดลองข้าวพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2505 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จึงได้จัดทำหนังสือ "50 ปี ศุนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก" เล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาสอันสำคัญนี้ โดยผู้บริหาร ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ใกล้ชิดตั้งแต่สมัยเป็นสถานีทดลองข้าวพิษณุโลก
จวบจนเป็นศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกในปัจจุบัน ได้บรรจงเรียบเรียงถ้อยคำ เล่าเรื่องราวในอดีต
|
![]() 40 ปีศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
ในปี พ.ศ. 2545 นี้ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก มีอายุการก่อตั้งครบรอบ 40 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นสถานีทดลองข้าวพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2505 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จึงได้จัดทำหนังสือ "40 ปี ศุนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก" เล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาสอันสำคัญนี้ โดยผู้บริหาร ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ใกล้ชิดตั้งแต่สมัยเป็นสถานีทดลองข้าวพิษณุโลก
จวบจนเป็นศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกในปัจจุบัน ได้บรรจงเรียบเรียงถ้อยคำ เล่าเรื่องราวในอดีต
|
![]() 30 ปี ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
ในวาระที่สถานีทดลองข้าวพิษณุโลกหรือศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกในปัจจุบันได้ก่อตั้งมาครบ 30 ปี ศูนย์วิจัยจัยข้าวพิษณุโลกพิจารณาเห็นควรที่จะมีการทำหนังสือขึ้นมาเพื่อเป็นการระลึกถึงนักวิชาการรุ่นอาวุโสซึ่งได้บุกเบิก จนศูนย์ฯ
มีสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจะได้นำเอาบทบาททางวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านข้าวมาลงพิมพ์
|
![]() การเก็บเกี่ยวข้าวในระยะที่เหมาะสม
ในจำนวนผลผลิตทางการเกษตรที่นำมาใช้เป็นอาหารนั้น พืชผลที่เป็นเมล็ด จะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นอาหารของมนุษย์มากที่สุด และพืชที่เป้นเมล็ดเหล่านี้จะมีการสูญเสียทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งขั้นตอนในการสูญเสียมีตั้งแต่ก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ถ้าเราสามารถลดความสูญเสียในขั้นตอนเหล่านี้ได้เท่ากับเป็นการเพิ่มผลผลิตอีกวิธีหนึ่ง
|
![]() การจัดเขตสศักยภาพ พิษณุโลก
1.) รวบรวมและจำทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการแบ่งเขตศักยภาพ การผลิตข้าว (Rice potential zoning)
ของจังหวัดพิษณุโลก
2.) จัดทำแผนที่แบ่งเขตศักยภาพการผลิตข้าวของจังหวัดพิษณุโลก
3.) พัฒนาเทคโนโลยีการใช้ปัจจัยพื้นฐานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าว
|
![]() การจัดเขตศักยภาพ พิจิตร
1.) รวบรวมและจำทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการแบ่งเขตศักยภาพ การผลิตข้าว (Rice potential zoning) ของ
จังหวัดพิจิตร
2.) จัดทำแผนที่แบ่งเขตศักยภาพการผลิตข้าวของจังหวัดพิจิตร
3.) พัฒนาเทคโนโลยีการใช้ปัจจัยพื้นฐานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าว
|
![]() การใช้เทคโนโลยีแบบบูรณาการในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
ในการทำนาเพื่อจะให้ได้ข้าวมีผลผลิตสูงและคุณภาพดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมในหลายๆด้าน ตั้งแต่เตรียมการจัดหาพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีก่อนการเพาะปลูก การเตรียมแปลงนา การเพาะปลูก การดูแลรักษาต้นข้าวและสภาพแวดล้อมในนาให้มีความเหมาะสมตลอดเวลาไปจนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยว
|
![]() การทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตแผนใหม่
ปัจจัยหรือสิ่งสำคัญในการทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตหรือพูดง่ายๆ การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ
ดังต่อไปนี้ 1.) พันธุ์ข้าว 2.) น้ำ 3.) ความอุดมสมบูรณ์ 4.) การดูแลปฏิบัติรักษา 5.)การักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์
|
![]() การผลิตข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ประเทศไทยส่งข้าวออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาดฃโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2541 มีปริมาณส่งออกมากเป้นประวัติการณ์ถึง 6.37 ล้านตัน ข้าวสารคิดเป็นมูลค่า 85,019 ล้านบาท แต่ผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยของโลก กล่าวคือ ในปีเพาะปลูก 2540/41 ได้ผลผลิตข้าวรวม 23.58 ล้านตันข้าวเปลือก จากพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 56.96 ล้านไร่ และนาปรังอีก 7.23 ล้านไร่
|
![]() การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในระดับเกษตรกร
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าผลผลิตที่ได้จากการปลูกข้าวจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นกับพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพลมฟ้าอากาศ และศัตรูของข้าวต่างๆ ดังนั้นการขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีให้ถึงมือเกษตรกรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศและยกระดับรายได้ของเกษตรกร เพราะปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก
|
![]() งานโครงการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
(เฉพาะในความรับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาข้าว)
1.) โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ ภูชัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
2.) โครงการพัฒนาการเกษตร จังหวัดพิจิตร
3.) โครงการพัฒนาเฉพาะพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
|
![]() เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าว (โครงการลดหนี้)
การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพเมล็ดดี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการปฏิบัติดูแลรักษาตามขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตข้าวตั้งแต่เรื่องสภาพแวดล้อม พันธุ์ข้าว การเตรียมดิน วิธีการปลูก การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
|
![]() ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด
การทำนาในประเทศไทย ศัตรูข้าวเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการเพิ่มผลผลิต ทั้งนี้เนื่องจากชาวนายังไม่เข้าใจถึงสาเหตุ
อันแท้จริงที่ทำให้ข้าวเกิดอาการผิดปกติเห็นได้จากคำบอกเล่าของชาวนา เมื่อพบต้นข้าวเหลืองหรือมีอาการผิดปกติ
เกิดขึ้นทั้งหมดว่าข้าวเป็นเพลี้ย คำแนะนำต่อไปนี้คงจะช่วยให้ชานารู้จักสาเหตุที่ทำให้ข้าวเกิดการผิดปกติ ลักษณะ
การทำลายที่เกิดกับข้าวในระยะต่างๆและแนวทางในการป้องกันกำจัด
|
![]() หลักปฏิบัติการจัดทำแปลงทดสอบและสาธิต
การเลือกใช้พันธุ์ข้าว พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ปลูกในปัจจุบัน มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ของทางราชการ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการเจริญเติบโตของพันธุ์และแบ่งได้ตามลักษณะของชนิดเนื้อแป้งของเมล็ด ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เป็นต้น ปัจจุบันการแบ่งพันธุ์ข้าวตามลักษณะที่เกษตรกรคุ้นเคย สามารถแบ่งออกพันธุ์ข้าวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆดังนี้ คือ 1.) พันธุ์ข้าวนาปี 2.) พันธุ์ข้าวนาปรัง
|